ระเบียบวาระที่  ๔     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๔.๓ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่  ๑๐  ประจำเดือนกุมภาพันธ์  ๒๕๖๔
 
สรุปเรื่อง  
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น
                   ๑. โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
                       มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนิน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) โดยได้ดำเนินการดังนี้คือ
                       ๑. ดำเนินการประเมินศักยภาพพื้นที่เป้าหมายทั้ง ๓ จังหวัด (จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระแก้ว)
                       ๒. ดำเนินการอบรมทางด้านสังคม และการรับสมัครงาน ครั้งที่ ๖ ในระหว่างวันที่ ๑ – ๑๖  เมษายน  ๒๕๖๔
                       ๓. ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักพันธกิจสัมพันธ์ ศึกษาดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๕  มีนาคม ๒๕๖๔ ณ บ้านสร้อยสุวรรณ  จังหวัดกำแพงเพชร และบ้านนาต้นจั่น  จังหวัดสุโขทัย                          
                       สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหา ของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
                    
                    ๒. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                        ๑. การดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔  ดังนี้
                             ๑.๑ ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ
                             ๑.๒ กิจกรรมอบรมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่คณะกรรมการดำเนินโครงการ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๔
                             ๑.๓ กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลผู้ประกอบการ ระหว่างวันที่ ๑๖ มกราคม - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
                             ๑.๔ ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการจำนวน ๑๒ ผลิตภัณฑ์ พร้อมคัดเลือกผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
                             ๑.๕ กิจกรรมอบรมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแก่ผู้จัดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และคณะกรรมการ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
                             ๑.๖ ประชุมคณะแนวทางการดำเนินโครงการแก่คณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง
๑๒ ผลิตภัณฑ์ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
                             กิจกรรมการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
                         ๒. แผนการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ดังนี้
                             ๒.๑ คณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นทั้ง ๑๒ ผลิตภัณฑ์ ดำเนินการเรื่องบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ประกอบการ
ภายในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
                             ๒.๒ คณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นทั้ง ๑๒ ผลิตภัณฑ์ ดำเนินการสรุปโจทย์ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
                             ๒.๓ คณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นทั้ง ๑๒ ผลิตภัณฑ์ นำเสนอบันทึก กนผ. ๐๔ เพื่อให้ท่านประธานกรรมการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นพิจารณา ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ หากมีการแก้ไขให้คณะกรรมการดำเนินการแก้ไขและจัดส่ง กนผ. ๐๔  พร้อมแจ้งรายชื่อนักศึกษาปฏิบัติงานให้แก่สถาบันวิจัยและพัฒนา ภายในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
                             ๒.๔ คณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นทั้ง ๑๒ ผลิตภัณฑ์ ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระยะที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๙ เมษายน – ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
              ๓. ผลการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                             รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมีการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการจาก ๓ กิจกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
                             กิจกรรมที่ ๑ จำนวน ๔๕,๓๘๓ บาท    คิดเป็นร้อยละ    ๓๕.๓๒ ของกิจกรรม
                             กิจกรรมที่ ๒ จำนวน ๔,๒๐๕ บาท     คิดเป็นร้อยละ    ๒.๙๒ ของกิจกรรม
                             กิจกรรมที่ ๔ จำนวน ๑๑,๓๘๐ บาท   คิดเป็นร้อยละ    ๓.๖๗ ของกิจกรรม
                            โดยงบประมาณทั้ง ๓ กิจกรรมคิดเป็นร้อยละ ๓.๐๕ ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
 
                    ๓. โครงการส่งเสริมความรัก ความสามัคคี และวินัยของชาติ
                            
                     ๔. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบล
            
                    ๕. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่าย การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล
                        ตามที่กองนโยบายและแผนได้ดำเนินการโครงการเสริมสร้างภาคีเครือข่ายการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบลได้ดำเนินการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเชิงพื้นที่ ๑๔ พื้นที่ โดยแบ่งเป็น จังหวัดปทุมธานี ๙ พื้นที่ และจังหวัดสระแก้ว ๕ พื้นที่ ในระหว่างวันที่ ๒๔ – ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ผู้รับผิดชอบพื้นที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสำรวจข้อมูลศักยภาพพื้นที่ เช่น อัตลักษณ์ บริบทพื้นที่ เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สังคม และการจัดการด้านคุณธรรมจริยธรรม พร้อมรายงานผลวิเคราะห์ ๑๔ พื้นที่ และแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำเครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools Demonstration) ในวันที่ ๗ – ๘ เมษายน ๒๕๖๔
                       
                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู
                    ๖. โครงการยกระดับการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่พื้นที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายและแก้ปัญหาด้านการศึกษาของนักเรียนในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๔ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ นั้น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนขอรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนมีนาคม  ๒๕๖๔  ดังนี้
                         ในเดือนมีนาคม  ๒๕๖๔  สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการโค้ช (Coaching) และการสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่ผู้จัดการพื้นที่และทีมงาน ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น ๕ อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์  ทรายแก้ว อธิการบดี เป็นประธานในการเปิดโครงการ
                          ทั้งนี้ในเดือนเมษายน ๒๕๖๔ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัดเวทีการนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนลงสู่ปฏิบัติ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น ๕ อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์  ทรายแก้ว อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ
                          สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
            
                          โรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้
                         โรงเรียนสาธิตขอรายงานแผนการดำเนินงาน โครงการโรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ โดยการกำหนดขั้นตอนกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้
                            ๑. ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิออกแบบหลักสูตร กำหนดการ และการผลิตสื่อต้นแบบ
                            ๒. ออกแบบชุดเครื่องมือครู (Teacher Tool Kits : TTK) สำหรับแก้ปัญหาการอ่าน – เขียน (ประกอบด้วย แผน  สื่อ  เครื่องมือวัดผล  แบบบันทึกความก้าวหน้าของครูและนักเรียน และอื่น ๆ)
                            ๓. จัดอบรม “นวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน” : นวัตกรรมยกระดับการอ่านออก เขียนได้ รูปแบบ Active Learning : GPAS 5 Steps สำหรับ ครูผู้สอนในจังหวัดปทุมธานี
                            ๔. โค้ชแบบพี่เลี้ยงพาคิดพาทำรูปแบบออนไลน์ และลงพื้นที่ใช้ห้องเรียนเป็นพื้นฐาน เพื่อทดลองใช้สื่อในห้องเรียนจริงกับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน – การเขียน
                            ๕. จัดกิจกรรม Reading Challenge สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคน
                            ๖. ประเมินผลโครงการ
                            ๗. ประชุมถอดบทเรียนแบบสนทนากลุ่ม
 
                    ๗. โครงการสนับสนุนสื่อวีดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
                                                                    
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา
                    ๘. โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ ๒๑
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
                    ๙. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)
        
                    ๑๐. โครงการ VRU Mind Set
 
                    ๑๑. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏ                 
                         
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
    -
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................